วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอ น่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)


                             การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอ น่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)


การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอ น่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)

    งานตัดต่อวีดีโอนั้น จะต้องใส่เทคนิคพิเศษให้กับงานเพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นด้วย Effect ในโปรแกรม VideoStudio Editor จะหมายถึง Transiton ที่ใช้เป็นตัวคั่นระหว่างคลิปวีดีดีโอ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงจากคลิปหนึ่งไปอีกคลิปหนึ่งดูราบรื่น และต่อเนื่องขึ้นนั่นเอง
    1. การเลือกใช้ Effect ครั้งแรก

    Effect  เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญกับงานตัดต่อวีดีโอเป็นอย่างมาก ซึ่งบางโปรแกรม การใช้ Effect ค่อนข้างยากและมีให้ใช้งานน้อย แต่โปรแกรม VideoStudio Editor  จะเรียกใช้  Effect  ได้อย่างง่ายดายมีความสวยงาม  การใส่ Effect  เป็นการปรับสมดุลให้งานวีดีโอที่นำเข้ามาใช้งาน  กำหนดให้ทุกช่วงของการเปลี่ยนแปลงฉากวีดีโอมีความน่าสนใจและราบรื่น  เพื่อเน้นให้งานวีดีโอมีจุดเด่นมากยิ่งขึ้น


    2. รู้จัก Effect กันก่อน
    Effect  ของโปรแกรม VideoStudio Edit  จะจัดหมวดหมู่ไว้ชัดเจนตามความต้องการที่จำนำมาใช้งาน ซึ่ง Effect  ทั้งหมดมีด้วยกัน 14 หมวดหมู่ ได้แก่  3D, Build, Clock, F/X, Film, Flahback, Mask, Peel, Push, Roll, Rotate, slide, Stretch, และWipe ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

    ก่อนที่เราจะนำ Effect  เข้ามาใช้ร่วมกับวีดีโอ เราสามารถดูตัวอย่างก่อนนำ Effect  เข้ามาใช้งาน
    การทำงานของ Effect  
    สำหรับการเปลี่ยน Effect ของโปรแกรม VideoStudio Edit นั้น จะเห็นว่าตัวอักษร ในส่วนของ Preview Window  จะเปลี่ยนจากตัวอักษร ที่เป็นคลิปวีดีโอแรกไปเป็นตัวอักษร ซึ่งเป็นคลิปวีดีโอถัดไป ดังตัวอย่าง

    3. การใส่   Effect   ให้คลิปวีดีโอ
    การนำ Effect  เข้ามาใช้งานร่วมกับวีดีโอ เป็นวิธีที่ไม่อยากแต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ การเลือก Effect   ให้เหมาะสมกับงานวีดีโอนั้น เพราะ Effect    แต่ละตัวก็มีความสวยงามตกต่างกันไป วิธีการนำ Effect   เข้ามาใช้งามเริ่มจาก

    4. การสลับ Effect   และการลบคลิปวีดีโอที่มี Effect
    การใส่ Effect  เป็นวิธีง่าย เพื่อความสะดวกและรวดเร็วถ้าไม่ต้องกา Effect  ตัวที่ใส่ลงไปแล้วก็ไมต้องลบให้เสียเวลา เราก็สามารถนำ Effect  ตัวใหม่มาใส่ได้เลย คังตัวอย่างต่อไปนี้

                    1) วาง Effect  ตัวใหม่ทับตัวเก่า
       นำ Effect  ตัวใหม่ที่ต้องการโดยนำมาใช้แทน Effect  ตัวเก่า

                    2) การลบ Effect                     
                    หากไม่พอใจ Effect  ที่ใส่ไปแล้วก็สามารถลบ Effect  นั้นทิ้งไปได้เลยซึงสามารถทำได้ วิธี คือ วิธีแรกให้คลิกที่ Effect  ที่ต้องการลบแล้วกดปุ่ม <Delete> บนคีย์บอร์ด ส่วนวิธีที่ ดังภาพ

    5. การกำหนดช่วงเวลาในการแสดง Effect
    หลังจากที่ใส่ Effect  ให้กับคลิปวีดีโอได้แล้ว ต่อไปเราจะมากำหนดช่วงเวลาในการแสดงให้กับ Effect  ซึ่งปกติ Effect  จะแสดงผลที่ วินาทีเท่านั้น บางครั้งอาจน้อยไปสำหรับบางงานการกำหนดช่วงเวลาในการแสดง Effect  สามารถทำได้ 2วิธี
                    1) กำหนดช่วงเวลา Effect  วิธีที่ 1
                    เป็นการกำหนดการแสดงผล Effect  ในส่วน Storyboard แล้วจึงกำหนดช่วงเวลาใหม่ ในการแสดงผลให้Effect  ใหม่

                    2) กำหนดช่วงเวลา Effect  วิธีที่ 2
                    การกำหนดเวลาให้ Effect  ที่อยู่ในโหมด Timeline กำหนดค่าโดยเพิ่มความยาว ให้ Effect

    6. กำหนดให้ใส่ Effect  แบบอัตโนมัติ
    บางครั้งการเลือก Effect  เข้สมาใส่ในงานตัดต่อวีดีโอนั้นก็ยุ่งยากพอสมควร ถ้าเรามีวิธีที่ไม่ต้องเลือก Effect  ให้ปวดหัว แล้วสามารถกำหนดให้ใส่ Effect  แบบอัตโนมัติ สามารถทำได้โด



    7. ปรับแต่ง Effect  ตามใจผู้ตัดต่อ
    Effect  มีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันไป และยิ่งให้ผู้ตัดต่อไปถูกอย่างก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น หลักจากใส่ Effect  ไปแล้วเราสามารถที่จะมาปรับแต่ง Effect  เพิ่มเติมอีกได้

อ้างอิง https://sites.google.com/site/jakkapatpimpa/-effect12

วิธีการใช้งานเครื่องมือ โปรแกรม Ulead Video Studio เบื้องต้น


วิธีการใช้งานเครื่องมือ โปรแกรม Ulead Video Studio เบื้องต้น


Ulead นั้นก็สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ได้เช่นกัน ในกรณีนี้ คุณจะต้องหาการ์ดจับภาพเช่นการ์ดรับโทรทัศน์ที่เป็นแบบ analog มาใช้งาน การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire นั่นแหล่ะครับ

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 


โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Ulead VideoStudio

1. Step Panel
กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Title เป็นต้น

2. Menu Bar
แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น

3. Options Panel
ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น

4. Preview Window
หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้

5. Navigation Panel
มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ, ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น

6. Library
เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน

7. Timeline
แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ



Step Panel

ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง

ขั้นตอนตัดต่อคือ

1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)

2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)

3.Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)

4.Overlay (ทำภาพซ้อน)

5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)

6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)

7.Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)

ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

การติดตั้งโปรแกรม Ulead Video Studio 11



การติดตั้งโปรแกรม Ulead Video Studio 11 มีขั้นตอนดังนี้

  •  คลิกเลือก Setup
  •  
    •     หน้าแรกเมื่อกด Setup

     
     
    •     จากนั้นคลิกปุ่ม Next

     
    •     ชุดติดตั้งจะแสดงจอภาพดังภาพด้านล่างให้คลิ้กที่  I accept the terms of license agreement  แล้วคลิ้กปุ่ม Next
     
    •     จากชุดติดตั้งทำงานดังภาพด้านล่าง จากนั้น ใส่ชื่อ และโค้ด
     
    •     ชุดติดตั้งเริ่มทำงานดังภาพด้านล่าง คลิ้กเลือกใส่ชื่อ และโค้ด เรียบร้อยแล้ว คลิ้กที่ปุ่ม Next
     
     
    •     จากนั้นชุดติดตั้งเริ่มการติดตั้งลงบนเครื่องดังภาพด้านล่าง จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม Next
     
    •     จากภาพ ให้คลิ้กเลือก Unted Kingdom จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม Next
     
    •     เมื่อชุดติดตั้งทำการติดตั้งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะแสดงจอภาพดังภาพด้านล่างให้คลิ้ก Next
     
     
    •      เมื่อชุดติดตั้งทำการติดตั้งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะแสดงจอภาพดังภาพด้านล่างให้รอสักครู่
     
     
    •      คลิ้ก Finish เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม
     
    •     เมนูหลักและเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรม Ulead Video Studio 11
        โปรแกรม Ulead Video Studio 11 ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 โหมด ประกอบด้วย
    VideoStudio Edittor/Movie Wizard/Dv - to - DVD Wizard
     
     
     
     
    อ้างอิง   https://sites.google.com/site/jakkapatpimpa/1

ประวัติเเละประโยชน์ของการตัดต่อวีดีโอ


ประวัติเเละประโยชน์ของการตัดต่อวีดีโอ

ประวัติของการตัดต่อวีดีโอ

 ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดีย ที่ทำให้การนำ
เสนองานของเราน่าสนใจแล้ว ราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อ
วิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม  

Ulead Video Studio 8  
เพื่อเป็นพี้นฐานในการตัดต่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

      ประโยชน์ของงานวิดีโอ
      1.  แนะนำองค์กรและหน่วยงาน  การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงาน
และองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
      2.  บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในทฃสถานที่ต่างๆ งานวันเกิด 
งานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
      3.  การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง  เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT   เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage  และอื่นๆ
      4.  การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ  ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพ
ประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
      5.  วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง  วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย  ผู้จะเกษียณอายุจากการ
ทำงาน  เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว  โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
       ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น  และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ในการทำงานวิดีโอ  สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความปราณีต และความคิดสร้างสรรค์

https://sites.google.com/site/chiyratnkartadtxwidixo/home/prawati-khxng-kar-tad-tx-widixo

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เเนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ

การตัดต่อวีดีโอ

–แนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ–

ก่อนที่จะลงมือถ่ายทำและตัดต่อสร้างงานวิดีโอ เราควรจะวางแผน
การทำงานเสียก่อน ซึ่งในส่วนนี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ ไม่ต้องมาแก้ไขในภายหลัง
โดยมีลำดับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเขียน Storyboard

        การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ขึ้นมาก่อน
ที่จะไปถ่ายทำจริง เพื่อจะทำให้ฉากและภาพที่มีองค์ประกอบต่างๆ
ตรงตามความต้องการมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตกหล่นในระหว่าง
ทำเพราะถ้าถ่ายซ่อมทีหลังจะไม่สะดวก   
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้

       การทำงานวิดีโอจะเป็นต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ไฟล์วิดีโอ
ไฟล์เสียงดนตรีให้พร้อม เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีแหล่งต่างๆ
ดังนี้
       - ไฟล์วิดีโอจากภาพยนต์ หรือสารคดี ข่าว
       - การถ่ายทำวิดีโอเอง
       - การเตรียมไฟล์เสียงและบรรยาย

ขั้นตอนที่ 3 การตัดต่อวิดีโอ (ให้สอดคล้องกับ StoryBoard ที่วางไว้)

       เป็นการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ
ขั้นตอนตัดต่อคือ
      1. Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD) 
      2. Edit (แก้ไข/ตัดต่อ) 
      3. Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์) 
      4. Overlay (ทำภาพซ้อน) 
      5. Title (ใส่ตัวหนังสือ) 
      6. Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย) 
      7. Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ) 

ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้
เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้
หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่น
ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตัดต่อวีดีโอ
อย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ

        Capture เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้
คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้
วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียง
ไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอน
การจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจาก
วีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย

        Edit ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้
Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ใน
ขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น
หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง
เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ
ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอ
มาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วนก็สามารถตัดแยก
scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่
ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก
และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ ฝนตกในคลิปวีดีโอ
ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน

        Effect ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition)
ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ
ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป
ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไป
ที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกัน
ของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง

        Overlay ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับ
ที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพ
ของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่

        Title ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือ
ปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือ
แบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่าง
ขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือ
มาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้

       Audio ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น
CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้ง
การปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับ ในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียง
บรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียง
ของดนตรีประกอบ เป็นต้น

       Share ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็น
สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์
วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทป
อีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD 

เอกสารอ้างอิง
http://www.xirbit.com/html/programs/ulead9/index.html





วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

10. ระดับของสารสนเทศ




  10. ระดับของสารสนเทศ


  สารสนเทศแบ่งตามการใช้ ได้แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1. สารสนเทศระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศขนาดเล็ก ทุกคนสามารถทำได้โดยทำการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2. สารสนเทศระดับกลุ่ม เป็นสารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในระดับกลุ่มงานให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับกลุ่มงานต่างๆ เป็นต้น

3. สารสนเทศระดับองค์กร เป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานทั้งหน่วยงานหรือทั้งองค์กร ให้ทำงานต่างๆ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้



9. การจัดการสารสนเทศ




  9. การจัดการสารสนเทศ


 การจัดการสารสนเทศ (Information management) คือ การวางแผน จัดหา รวบรวม จัดเก็บ รักษา  และส่งต่อแพร่กระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานและการดำเนิน  งานขององค์กร สร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการ  เรียนรู้
 การจัดการสารสนเทศ เป็นการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มักจะมีรายละเอียดปลีก  ย่อยลงไปแล้วแต่ประเภทและขนาดขององค์กร ไม่ได้มีลักษณะเป็น “One size fits all” อาจเป็นองค์กร  ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและบริการสารสนเทศโดยตรง เช่น ห้องสมุด หรือองค์กรที่ใช้สารสนเทศในการ  ดำเนินธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือระดับประเทศก็ได้ ปัจจุบันมีธุรกิจรับจ้างจัดการสารสนเทศ  สำหรับองค์กรภาคธุรกิจเกิดขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการสารสนเทศภายในองค์กรเป็นไปอย่างมี  ประสิทธิภาพ ผลิตสารสนเทศที่ถูกต้อง มีคุณภาพ ทันสมัย และเชื่อถือได้ มีการใช้เมทาดาทาที่ถูกต้อง  จัดทำฐานข้อมูลและจัดทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) โดยดึงข้อมูลแต่ละกลุ่มที่กำหนดไว้ในแผนที่  สารสนเทศ (Information Map) ขึ้นมาใช้เมื่อต้องการ กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ การเข้า  ถึงสารสนเทศ กำหนดว่าใครมีสิทธิเข้าถึงได้ ใครที่ไม่มีสิทธิเข้าถึง การจัดเก็บและรักษาความปลอดภัย  ของสารสนเทศ การกำจัดสารสนเทศที่ไม่ใช้แล้ว หรือไม่มีประโยชน์ การจัดการระเบียนเอกสารสำคัญ  ต่างๆ เช่น เอกสารทางกฎหมาย การเงิน การค้า งานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ระบบการจัดการ  สารสนเทศ (information management systems) อาจแยกย่อยตามประเภทและกิจกรรมของสารสนเทศ  เช่น ระบบการจัดการเอกสาร ระบบการจัดการระเบียนบันทึก ระบบการจัดการเนื้อหาบนเว็บ ระบบการ  จัดการคลังสื่อดิจิทัล ระบบการจัดการสื่อการเรียนการสอน ระบบการจัดการห้องสมุด เป็นต้น การจัดการ  สารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ประการคือ 1. มนุษย์ (people) 2. กระบวนการ (process) 3.    เทคโนโลยี (technology) 4. เนื้อหา (content) ดังนั้น การจัดการสารสนเทศไม่ได้เกี่ยวข้องแค่  เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สถาปัตยกรรมโครงสร้างของสารสนเทศ เมทาดาทา  และคุณภาพของเนื้อหาด้วย (Robertson, 2005)
 สำหรับกรอบแนวความคิดของกลยุทธ์สารสนเทศสำหรับองค์การหรือหน่วยงานภาคธุรกิจนั้น Earl  (2000, p.21) ได้เสนอกรอบแนวความคิดแบบ 5 จุดเชื่อมโยงกัน (five-point information strategy  framework) ซึ่งประกอบด้วย
  1. What? อะไรคือกลยุทธ์ของระบบสารสนเทศที่จะใช้ในการพัฒนาองค์การ (IS strategy)
  2. How? องค์การจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร (IT strategy)
  3. Where? การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศขององค์การ จะต้องมีทิศทางที่จะดำเนินไปและมีเป้าหมายที่แน่นอน (IR strategy)
  4. Who? ใครเป็นผู้มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศขององค์การ (IM strategy) และ
  5. Why? ทำไมกลยุทธ์สารสนเทศจึงมีความสำคัญต่อกลยุทธ์โดยรวมขององค์การ (Organization strategy)
 Davenport (2000) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศขององค์กรโดยทั่วไปว่า องค์กรส่วนใหญ่  มักใช้เงินงบประมาณลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเป็น  เพียงเครื่องมือในการจัดเก็บและส่งผ่านสารสนเทศเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ มนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งผู้  สร้าง ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ต้องการใช้สารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีค่าและมีความหมาย ดังนั้น เมื่อมี  “เทคโนโลยี” แล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้จักบริหารจัดการ “สารสนเทศ” ให้มีประสิทธิภาพ และควรจะมุ่ง  เน้นไปที่ “I” (information) มากกว่า “T” (technology)